Orange Rainbow Over Clouds

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

Diary Note 25 January 2017

Diary Note No.3

นำเสนอคำคมเกี่ยวกับการบริหาร

เลขที่ 4 



"การที่เราเป็นผู้นำ กำลังใจ เป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงาน ผู้นำต้องรู้จักการพูดให้กำลังใจในการทำงาน เพื่อเป็นแรงเสริมให้กับลูกน้อง"


เลขที่ 5


"หัวหน้าที่ดี ต้องผ่านการทำงานทุกอย่าง ตั้งแต่ ลูกน้อง ถึง หัวหน้า และควรทำงานให้เป็น เพื่อเป็นตัวอย่างให้ลูกน้องได้ดู"


บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร




บทบาทของผู้บริหาร ผู้นำในยุคโลกาภิวัฒน์


  • ในอดีต : ผู้นำทำหน้าที่เป็นผู้นำจริงๆ ถ้ามีการตาย ผู้นำจะตายก่อน
  • ในปัจจุบัน : ผู้นำมีหน้าที่แค่สั่งการ ถ้ามีการตาย ลูกน้องตายก่อน

ความรู้เกี่ยวกับผู้นำ


  • ผู้นำ กับ ผู้บริหาร มีความแตกต่างกัน คือ ผู้นำ ไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางบริหารมาก แต่ ผู้บริหารต้องมีทักษะทางด้านการบริหาร

ประเภทของผู้นำ


  1. ผู้นำในอำนาจหน้าที่ เป็นผู้นำโดยอาศักอำนาจหน้าที่ (Authority) และมีอำนาจบารมี (Power)

    จำแนกผู้จำประเภทนี้ได้ 3 แบบ คือ
         1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช (Legal Leadership) ใช้อำนาจในการปกครองแต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย เช่น ผู้บริหารประเทศ รัฐมนตรี หัวหน้ากอง หัวหน้าแผนก เป็นต้น
         1.2 ผู้นำแบบใช้พระคุณ (Charismatic Leadership) มีอำนาจจากบุคลิกภาพ ไม่ใช่อำนาจจากตำแหน่ง เกิดจากคุณสมบัติส่วนตัว เช่น มหาตมะคันธี
         1.3 ผู้นำแบบพ่อพระ (Symbolic Leadership) มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายแต่ไม่ใช้อำนาจนั้น เช่น พระมหากษัตริย์
  2. ผู้นำตามการใช้อำนาจ
         2.1 ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leadership) หรือ อัตนิยม คือใช้อำนาจต่าง ๆ สั่งการ ยึดตนเองเป็นใหญ่ ไม่ให้โอกาสกับผู้ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติการแบบนี้เรียกว่า One Man Show เช่น ฮิตเลอร์
         2.2 ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laisser-Faire Leadership) มีอำนาจแต่ไม่ใช้อำนาจ ปล่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำตามเสรี
         2.3 ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership) เน้นสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ที่เท่าเทียมกัน เช่น อองซานซูจี
  3. ผู้นำตามบทบาทหน้าที่แสดงออก

    จำแนกเป็น 3 แบบ คือ

         3.1 ผู้นำแบบบิดา-มารดา (Parental Leadership) ทำตนเหมือนพ่อแม่ ปกครองลูก ลูกน้องเปรียบเสมือนเด็ก
         3.2 ผู้นำแบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Leadership) ไม่เรียกว่าเป็นผู้นำก็ได้ แต่แค่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ จึงถูกยกย่องว่าเป็นผู้นำ
พฤติกรรมของผู้นำ

  • ผู้นำที่มุ่งคน (Employee Oriented) เน้นการมีสัมพันธภาพที่ดีกับลูกน้อง
  • ผู้นำที่มุ่งงาน (Production Oriented) เน้นงานเป็นหลัก

คุณสมบัติของผู้นำ


สรุปคุณสมบัติของผู้นำที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้ ดังนี้ คือ



ภาวะผู้นำ (Leadership)


ภาวะผู้นำ หรือ ผู้นำ จะต้องมีความสามารถ โดยมีองค์ประกอบดังนี้
     1. ตัวผู้นำ มีความเป็นผู้นำ                  
     2. ผู้ตาม ผู้นำบางทีต้องเป็นผู้ติดตาม
     3. จุดหมาย ต้องมีจุดหมาย และต้องทำให้บรรลุ
     4. หลัการและวิธีการ ใช้หลักอะไรในการบริหาร
     5. สิ่งที่จะทำ จะทำอะไรกับองค์กร
     6. สถานการณ์ สถานการณ์เป็นอย่างไร

ภาวะผู้นำ (Leadership)   
     1. ผู้นำโดยกำเนิด ลักษณะบ่งบอกถึงความเป็นผู้นำ เช่น พระพุทธเจ้า พระเจ้าอยู่หัว
     2. ผู้นำที่มีความอัจฉริยะ เป็นผู้ที่มีความสามารถ เป็นผู้อัจฉริยะ เช่น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
     3. ผู้นำที่เกิดขึ้นตามสายงานบริหาร ได้รับการแต่งตั้งตามสายงานการบริหาร เช่น อธิบดี ผู้อำนำการ หัวหน้าฝ่าย
     4. ผู้นำตามสถาณการณ์  เกิดขึ้นแบบมีทีมงานเป็นส่วนใหญ่ เกิดได้ทุกที่ทุกเวลา
       
ลักษณะและบทบาทของผู้นำ



ลักษณะของผู้นำในทศวรรษหน้า



บทบาทหน้าที่ของผู้นำ



ผู้นำยุคใหม่



สรุปความรู้ผู้นำยุคใหม่


ความรู้เกี่ยวกับผู้บริหาร



ผู้บริหารแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ



ภาพแสดงลักษณะของผู้บริหารแบ่งตามพฤติกรรมที่แสดงออก



คุณลักษณะของผู้บริหาร



ระดับผู้บริหารและอำนาจหน้าที่


ภาพแสดงการเปรียบเทียบระดับบุคลากรในองค์กร



คุณลักษณะของผู้บริหาร



ระดับผู้บริหารและอำนาจหน้าที่


การเปรียบเทียบระดังบุคลากรในองค์กร


การบริการงานให้บรรลุเป้าหมาย



ระบบการบริหาร (Management System)



หลักในการจัดรูปแบบของการบริหารงานยุคใหม่



ภาระหน้าที่และลักษณะงานของผู้บริหาร



บทบาททางการบริหาร (Management Roles)



ทักษะของผู้บริหาร


กิจกรรมทางการบริหาร



วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560

Diary Note 18 January 2017

Diary Note No.2

นำเสนอคำคมเกี่ยวกับการบริหาร

เลขที่ 1



 "การใช้เวาให้เกิดประโยชน์ บริหารเวลาให้เป็น เพื่อชีวิตที่ดีและประสบความสำเร็จ"

เลขที่ 2


"ถึงแม้ว่าเราจะเป็นผู้บริหาร ในบางครั้งเราก็ไม่สามารถทำได้ทุกอย่าง เราจึงต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น"

เลขที่ 3


"เราควรฟังแล้วคิดให้มาก ก่อนที่จะเชื่อใครเพราะคำพูด"

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร

  • ทฤษฎีการบริหารแบบ POSDCoRB

กูลิคและเรดอน (Gulick & Lydall, 1973, pp. 47 -88อ้างถึงใน พิมลจรรย์ นามวัฒน์, 2544, หน้า 22) เป็นนักทฤษฎีที่อยู่ในกลุ่มการศึกษาการจัดการตามหลักการบริหารได้เสนอหลักที่ เกี่ยวกับการบริหาร ซึ่งคนที่เป็นผู้บริหารจะต้องท ามีหน้าที่สำคัญอยู่ 7 ประการคือการวางแผนการ จัดองค์การ การจัดคนเข้าท างาน การสั่งการ การประสานงานการรายงานและการงบประมาณหรือ เรียกสั้น ๆ ว่า “POSDCORB” ซึ่งประกอบด้วย รายละเอียดดังต่อไปนี้

กระบวนการบริหาร หน้าที่ทั้ง 7 ประการ ดังกล่าว ได้แก่
  • P- Planning หมายถึง การวางแผน ได้แก่ การจัดวางโครงการและแผนงานต่างๆ ขึ้นมาไว้ล่วงหน้าเพื่อทราบว่า ต้องการทำอะไร ที่ไหน เมื่อใดอย่างไร ใครเป็นผู้ทำ ทำร่วมกับใคร และต้องการผลสำเร็จออกมาอย่างไร
  • O-Organizing หมายถึง การจัดองค์การ ได้แก่ การแบ่งงาน การกำหนดส่วนงาน กำหนดโครงสร้างขององค์การ การกำหนดตำแหน่งงานต่างๆ พร้อมกับอำนาจหน้าที่และขอบเขตของอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบขึ้นมาไว้อย่างชัดเจนและมีเอกภาพในการบังคับบัญชาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติงานร่วมกันของคนในองค์การ
  • S-Staffing หมายถึง การจัดการเกี่ยวกับตัวบุคคลในองค์การนับตั้งแต่ การจัดอัตรากำลัง การสรรหา การคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้งบุคคล การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง เงินเดือน การโยกย้าย การพัฒนาบุคคลในองค์การเรื่อยไปจนกระทั่งการให้บุคคลพ้นจากตำแหน่ง
  • D-Directing หมายถึง การอำนวยงาน ได้แก่การทำหน้าที่ในการตัดสินใจ วินิจฉัยสั่งการ การออกคำสั่ง มอบหมายภารกิจการงานไปให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หลังจากนั้นต้องใช้ภาวะของการเป็นผู้นำในการกระตุ้นจูงใจคนให้ยอมรับในผู้บริหาร ยอมทุ่มเทชีวิตจิตใจความรู้ความสามารถทำงานอย่างเต็มที่เพื่อความสำเร็จขององค์การ
  • Co- Coordinating หมายถึง การประสานงาน ได้แก่ การทำหน้าที่ในการประสานกิจกรรมต่างๆ ที่ได้มีการแบ่งแยกออกไปเป็นส่วนงานย่อยๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถทำงานประสานสอดคล้องกัน และมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือการทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์โดยรวมขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  •  R- Reporting หมายถึง การรายงาน ได้แก่การทำหน้าที่ในการรับฟังรายงานผลการปฏิบัติงานของบุคคลและหน่วยงานที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาได้รายงานมา เพื่อทราบถึงความเคลื่อนไหวของงานส่วนต่างๆ ว่า งานต่างๆสามารถดำเนินไปตามแผนงานที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด การรายงานถือเป็นมาตรการในการตรวจสอบและควบคุมงานด้วย
  • B- Budgeting หมายถึง การงบประมาณ ได้แก่ หน้าที่ที่เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ การจัดทำบัญชีการใช้จ่ายเงินและการตรวจสอบควบคุมด้านการเงิน การบัญชีของหน่วยงานนั่นเอง โดยปกติแล้วงบประมาณ ถือว่าเป็นแผนงานชนิดหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมโครงการต่างๆ ที่องค์การจะปฏิบัติจัดทำในระยะเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้

  •  กระบวนการทางการบริหารการจัดการ (The Management Process)

ฟาโย (Fayo1961 อ้างถึงใน ธงชัย สันติวงษ์, 2540, หน้า 40) ได้กล่าวถึงกระบวนการ บริหารหรือการจัดการประกอบด้วยหน้าที่ทางการจัดการ 5 ประการคือ

 1. การวางแผน (Planning) หมายถึง ภาระหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องทำการคาดการณ์ ล่วงหน้าหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการด าเนินงาน และกำหนดขึ้นเป็นแผนการ ปฏิบัติงานหรือวิถีทางที่จะปฏิบัติเอาไว้ เพื่อสไหรับเป็นแนวทางของการทไงานในอนาคต

 2. การจัดองค์การ (Organizing) หมายถึง ภาระหน้าที่ที่ผู้บริหารจะต้องจัดให้มีโครงสร้าง ของงานต่าง ๆ และอำนาจหน้าที่ทั้งนี้เพื่อให้เครื่องจักร สิ่งของและตัวคนอยู่ในส่วนประกอบที่ เหมาะสมในอันที่จะช่วยให้งานขององค์การบรรลุผลสำเร็จได้

 3. การบังคับบัญชาสั่งการ (Commanding) หมายถึง หน้าที่ในการสั่งงานต่าง ๆ ของ ผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งกระทำให้งานสำเร็จผลด้วยดี โดยที่ผู้บริหารจะต้องกระทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี จะต้องเข้าใจผู้ใต้บังคับบัญชา 

4. การประสานงาน (Coordinating) หมายถึง ภาระหน้าที่ที่จะต้องเชื่อมโยงงานของ ทุกคนให้เข้ากันได้และกำกับให้ไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน

 5. การควบคุม (Controlling) หมายถึง ภาระหน้าที่ในการที่จะต้องกำกับให้สามารถประกัน ได้ว่ากิจกรรมต่าง ๆ ที่ท าไปนั้นสามารถเข้ากันได้กับแผนที่ได้วางไว้แล้ว 

หน้าที่ในการจัดการของ ฟาโย (Fayo) ถือได้ว่า เป็นวิถีทางที่จะให้ผู้บริหารทุกคนสามารถ บริหารงานของตนให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ ยังเป็นหลักเกณฑ์ที่ได้ใช้ปฏิบัติอยู่จนทุกวันนี้ เพราะไม่ว่าเราจะยกเอากิจการใด ก็ตามขึ้นมาแยกแยะดู ก็จะเห็นว่า งานบริหารขององค์การทุกวันนี้ มีการจัดแบ่งหน้าที่ของผู้บริหารไว้ใกล้เคียงกับหลักเกณฑ์ที่ ฟาโย ได้แบ่งแยกเอาไว้ในขณะที่ การบริหารองค์การสมัยใหม่นั้นจะต้องมององค์การอย่างเป็นระบบที่มีสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องใน การบริหารงาน แนวคิด ในเรื่องระบบจึงจำเป็นที่ผู้บริหารในองค์การต้องเข้าใจและปรับตัวให้เข้ากับ สิ่งที่มากระทบองค์การ

การจัดการสถานศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย





ความหมายของการบริหารสถานศึกษา






สรุปความหมายของการบริหารศึกษา





ความสำคัญของการบริหารสถานศึกษา

หลักการและแนวคิดของการบริหารสถานศึกษา



ความหมายและความจำเป็นของทฤษฎี



พัฒนาการของทฤษฎี




ทัศนะดั้งเดิม





ทัศนะเชิงพฤิตกรรม



ทัศนะเชิงปริมาณ



ทัศนะร่วมสมัย