Orange Rainbow Over Clouds

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560

Diary Note 18 January 2017

Diary Note No.2

นำเสนอคำคมเกี่ยวกับการบริหาร

เลขที่ 1



 "การใช้เวาให้เกิดประโยชน์ บริหารเวลาให้เป็น เพื่อชีวิตที่ดีและประสบความสำเร็จ"

เลขที่ 2


"ถึงแม้ว่าเราจะเป็นผู้บริหาร ในบางครั้งเราก็ไม่สามารถทำได้ทุกอย่าง เราจึงต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น"

เลขที่ 3


"เราควรฟังแล้วคิดให้มาก ก่อนที่จะเชื่อใครเพราะคำพูด"

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร

  • ทฤษฎีการบริหารแบบ POSDCoRB

กูลิคและเรดอน (Gulick & Lydall, 1973, pp. 47 -88อ้างถึงใน พิมลจรรย์ นามวัฒน์, 2544, หน้า 22) เป็นนักทฤษฎีที่อยู่ในกลุ่มการศึกษาการจัดการตามหลักการบริหารได้เสนอหลักที่ เกี่ยวกับการบริหาร ซึ่งคนที่เป็นผู้บริหารจะต้องท ามีหน้าที่สำคัญอยู่ 7 ประการคือการวางแผนการ จัดองค์การ การจัดคนเข้าท างาน การสั่งการ การประสานงานการรายงานและการงบประมาณหรือ เรียกสั้น ๆ ว่า “POSDCORB” ซึ่งประกอบด้วย รายละเอียดดังต่อไปนี้

กระบวนการบริหาร หน้าที่ทั้ง 7 ประการ ดังกล่าว ได้แก่
  • P- Planning หมายถึง การวางแผน ได้แก่ การจัดวางโครงการและแผนงานต่างๆ ขึ้นมาไว้ล่วงหน้าเพื่อทราบว่า ต้องการทำอะไร ที่ไหน เมื่อใดอย่างไร ใครเป็นผู้ทำ ทำร่วมกับใคร และต้องการผลสำเร็จออกมาอย่างไร
  • O-Organizing หมายถึง การจัดองค์การ ได้แก่ การแบ่งงาน การกำหนดส่วนงาน กำหนดโครงสร้างขององค์การ การกำหนดตำแหน่งงานต่างๆ พร้อมกับอำนาจหน้าที่และขอบเขตของอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบขึ้นมาไว้อย่างชัดเจนและมีเอกภาพในการบังคับบัญชาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติงานร่วมกันของคนในองค์การ
  • S-Staffing หมายถึง การจัดการเกี่ยวกับตัวบุคคลในองค์การนับตั้งแต่ การจัดอัตรากำลัง การสรรหา การคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้งบุคคล การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง เงินเดือน การโยกย้าย การพัฒนาบุคคลในองค์การเรื่อยไปจนกระทั่งการให้บุคคลพ้นจากตำแหน่ง
  • D-Directing หมายถึง การอำนวยงาน ได้แก่การทำหน้าที่ในการตัดสินใจ วินิจฉัยสั่งการ การออกคำสั่ง มอบหมายภารกิจการงานไปให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หลังจากนั้นต้องใช้ภาวะของการเป็นผู้นำในการกระตุ้นจูงใจคนให้ยอมรับในผู้บริหาร ยอมทุ่มเทชีวิตจิตใจความรู้ความสามารถทำงานอย่างเต็มที่เพื่อความสำเร็จขององค์การ
  • Co- Coordinating หมายถึง การประสานงาน ได้แก่ การทำหน้าที่ในการประสานกิจกรรมต่างๆ ที่ได้มีการแบ่งแยกออกไปเป็นส่วนงานย่อยๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถทำงานประสานสอดคล้องกัน และมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือการทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์โดยรวมขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  •  R- Reporting หมายถึง การรายงาน ได้แก่การทำหน้าที่ในการรับฟังรายงานผลการปฏิบัติงานของบุคคลและหน่วยงานที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาได้รายงานมา เพื่อทราบถึงความเคลื่อนไหวของงานส่วนต่างๆ ว่า งานต่างๆสามารถดำเนินไปตามแผนงานที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด การรายงานถือเป็นมาตรการในการตรวจสอบและควบคุมงานด้วย
  • B- Budgeting หมายถึง การงบประมาณ ได้แก่ หน้าที่ที่เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ การจัดทำบัญชีการใช้จ่ายเงินและการตรวจสอบควบคุมด้านการเงิน การบัญชีของหน่วยงานนั่นเอง โดยปกติแล้วงบประมาณ ถือว่าเป็นแผนงานชนิดหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมโครงการต่างๆ ที่องค์การจะปฏิบัติจัดทำในระยะเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้

  •  กระบวนการทางการบริหารการจัดการ (The Management Process)

ฟาโย (Fayo1961 อ้างถึงใน ธงชัย สันติวงษ์, 2540, หน้า 40) ได้กล่าวถึงกระบวนการ บริหารหรือการจัดการประกอบด้วยหน้าที่ทางการจัดการ 5 ประการคือ

 1. การวางแผน (Planning) หมายถึง ภาระหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องทำการคาดการณ์ ล่วงหน้าหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการด าเนินงาน และกำหนดขึ้นเป็นแผนการ ปฏิบัติงานหรือวิถีทางที่จะปฏิบัติเอาไว้ เพื่อสไหรับเป็นแนวทางของการทไงานในอนาคต

 2. การจัดองค์การ (Organizing) หมายถึง ภาระหน้าที่ที่ผู้บริหารจะต้องจัดให้มีโครงสร้าง ของงานต่าง ๆ และอำนาจหน้าที่ทั้งนี้เพื่อให้เครื่องจักร สิ่งของและตัวคนอยู่ในส่วนประกอบที่ เหมาะสมในอันที่จะช่วยให้งานขององค์การบรรลุผลสำเร็จได้

 3. การบังคับบัญชาสั่งการ (Commanding) หมายถึง หน้าที่ในการสั่งงานต่าง ๆ ของ ผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งกระทำให้งานสำเร็จผลด้วยดี โดยที่ผู้บริหารจะต้องกระทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี จะต้องเข้าใจผู้ใต้บังคับบัญชา 

4. การประสานงาน (Coordinating) หมายถึง ภาระหน้าที่ที่จะต้องเชื่อมโยงงานของ ทุกคนให้เข้ากันได้และกำกับให้ไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน

 5. การควบคุม (Controlling) หมายถึง ภาระหน้าที่ในการที่จะต้องกำกับให้สามารถประกัน ได้ว่ากิจกรรมต่าง ๆ ที่ท าไปนั้นสามารถเข้ากันได้กับแผนที่ได้วางไว้แล้ว 

หน้าที่ในการจัดการของ ฟาโย (Fayo) ถือได้ว่า เป็นวิถีทางที่จะให้ผู้บริหารทุกคนสามารถ บริหารงานของตนให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ ยังเป็นหลักเกณฑ์ที่ได้ใช้ปฏิบัติอยู่จนทุกวันนี้ เพราะไม่ว่าเราจะยกเอากิจการใด ก็ตามขึ้นมาแยกแยะดู ก็จะเห็นว่า งานบริหารขององค์การทุกวันนี้ มีการจัดแบ่งหน้าที่ของผู้บริหารไว้ใกล้เคียงกับหลักเกณฑ์ที่ ฟาโย ได้แบ่งแยกเอาไว้ในขณะที่ การบริหารองค์การสมัยใหม่นั้นจะต้องมององค์การอย่างเป็นระบบที่มีสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องใน การบริหารงาน แนวคิด ในเรื่องระบบจึงจำเป็นที่ผู้บริหารในองค์การต้องเข้าใจและปรับตัวให้เข้ากับ สิ่งที่มากระทบองค์การ

การจัดการสถานศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย





ความหมายของการบริหารสถานศึกษา






สรุปความหมายของการบริหารศึกษา





ความสำคัญของการบริหารสถานศึกษา

หลักการและแนวคิดของการบริหารสถานศึกษา



ความหมายและความจำเป็นของทฤษฎี



พัฒนาการของทฤษฎี




ทัศนะดั้งเดิม





ทัศนะเชิงพฤิตกรรม



ทัศนะเชิงปริมาณ



ทัศนะร่วมสมัย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น